บันทึกประจำวันคลื่นสมองด้วย muse ผ่านแอพ mind monitor

18 ก.ค. 2564

หลับตาลืมตาสลับกันอย่างละ 1 นาที 


ผลลัพธ์: แค่เปิดละปิดเปลือกตาก็มีผลต่อค่า alpha ทันที การหลับตาทำให้ค่า alpha สูงขึ้น รายละเอียด

19 ก.ค. 2564


เมื่อดูประกอบกับกราฟ all data point 

เดลต้าจะพุ่งปรี๊ดทุกครั้งที่เปลี่ยนกรรมฐาน 

แกมมาพุ่งปี๊ดเมื่อเปลี่ยนจากหยุดนิ่งมาเป็นขยับ

รายละเอียด 

26 ก.ค. 2564

ปล่อยใจ/จดจ่อ และ ลืมตา/หลับตา




หลับตา alpha เพิ่ม  Gamma  ลด (เทียบกับลืมตา)

จิตจดจ่อ Alpha เพิ่ม Delta ลด (เทียบกับปล่อยใจ)

การนั่งสมาธิแบบจดจ่ออยู่กับลมหายใจ มีผลทำให้ค่าแอลฟ่าเพิ่มในขณะที่ค่าอื่นๆลดลง       รายละเอียด


27 ก.ค. 2564

สลับระหว่าง ยืนลืมตา ยืนหลับตา และ เดินจงกรม


หลับตา alpha เพิ่ม  อันอื่นทั้งหมด ลด (เทียบกับลืมตา)

เคลื่อนไหว Delta และ   Theta เพิ่มชัดเจน (เทียบกับนิ่ง)

รายละเอียด 

29 ก.ค. 2564

อ่านหนังสือ สลับกับ นั่งสมาธิ 


การทำสมาธิ(นั่งหลับตา จดจ่อลมหายใจ) มีผลทำให้ค่า Alpha เพิ่มขึ้นแต่ค่าอื่นๆลดลง รายละเอียด 

29 ก.ค. 2564

นั่งสมาธิ 20 นาที


30 ก.ค. 2564

นั่งสมาธิ 20 นาที


1 ส.ค. 2564

นั่ง 3 นาที นั่งสมาธิ 20 นาที


3 ส.ค. 2564

นั่งสมาธิ 30 นาที


4 ส.ค. 2564

นั่งเฉย 3 นาที สมาธิ 20 นาที แล้วนั่งชักแป๊บ


เสียงจากเวบดังตฤณ 

นั่งดูลมหายใจหลับตา

ดนตรี 4 นาที binaural beats 12 นาที ที่เหลือนั่งปกติ



คลิป Eugene music 

รอบแรกดูวีดีโอ รอบ 2 ดูวีดีโอไปพร้อมกับดูลมหายใจ


นั่งสมาธิ



5 ส.ค. 2564

ทำงานเหนื่อย แบกหินถมโคนสะพาน พอกลับกุฎิมานั่งบันทึก เปิดตา 5 นาที ปิดตาไล่กายจากหัวลงเท้า 5 นาที แล้วดูลม

6 ส.ค. 2564

เดินจงกรมประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วมานั่งสมาธิ 10 นาที

อ่านหนังสือสลับนั่งสมาธิ ใน 1 ชั่วโมง


ชีวิตตื่นปกติ มี Delta สูงกว่า Alpha

พอเริ่มมีการจดจ่อด้วยการอ่านหนังสือ Delta ก็ลดลงมาต่ำกว่า alpha

เมื่อเทียบกับสมาธิแบบอ่านหนังสือแล้ว สมาธิแบบนั่งหลับตาดูลมจะเพิ่มค่า Alpha สูงมาก จะลดค่า Gamma ต่ำมาก และลด 3 ตัวที่เหลือให้มาอยู่ตรงระหว่างกลาง รายละเอียด


7 ส.ค. 2564


คราวนี้ตั้งใจทำการศึกษาคลื่นสมองขณะอยู่ในท่านอน โดยการอยู่ในท่านอน ประมาณ 5 ชั่วโมงครึ่ง 

จากการลองวิเคราะห์ดู คาดว่า

 A. หลับลึก

 B. คือหลับตาตื่นรู้สึกตัว

 C. คือช่วงปรับสภาพจากตื่นไปสู่หลับลึก 

D. คือหลับฝัน

รายละเอียดและการวิเคราะห์


ลองนอนอีกครั้งช่วงหัวค่ำโดย เริ่มบันทึกตั้งแต่อยู่ในท่านอนและตั้งใจว่ารู้สึกตัวปุ๊บ ตื่นขึ้นมาหยุดบันทึกทันที ได้ผลดังนี้


7 ส.ค. 2564

อ่านหนังสือ 20 นาที นั่งสมาธิดูลม 20 นาที

มีความง่วงระหว่างอ่านหนังสือและระหว่างนั่งสมาธิ เผลอมึนๆเบลอๆไปบ้าง

รายละเอียด


8 ส.ค. 2564

ปัดกวาดทำความสะอาดรอบๆที่พัก


อ่านหนังสือสลับกับนั่งสมาธิ ครั้งนี้ในขณะนั่งใช้ความพยายามในการหายใจให้ลึกๆช้าๆยาวๆ ค่อนไปทางบังคับมากกว่าผ่อนคลาย


นั่งสมาธิดูลมหายใจสบายๆในเบื้องต้น ไล่ความรู้สึกตามกระดูกสันหลังจากก้นกบขึ้นกะโหลกในตอนหลัง
นอนตื่นแรก- 29 นาที

นอนตื่นสอง- 2 ชั่วโมง 25 นาที

9 ส.ค. 2564

นั่งสมาธิ 13 นาที


กายบริหารยามเช้า รายละเอียด
ทำความสะอาด ปัดกวาดห้อง

คุยโทรศัพท์ 44 นาที
ช่วงท้ายๆเราเล่าเรื่องของเราซึ่งอินเป็นพิเศษ คาดว่าเป็นเหตุให้แกมม่าสูงขึ้น

ปล่อยใจอ่าน facebook ไปเรื่อย 15 นาที ตามด้วยนั่งสมาธิดูลม ขณะนั่งรู้สึกฟุ้ง และ วันนี้รู้สึกอากาศร้อนเป็นพิเศษ

อ่านหนังสือนั่งสมาธิอย่างละ 20 นาที
ช่วงแรกที่นั่งสมาธิฟุ้งและลืมดูลมไปเยอะ
10 นาทีแรกนั่งสมาธิธรรมดา
10 นาทีหลังนึกถึงบุญคุณของสิ่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์ คุณพ่อคุณแม่ครูบาอาจารย์เพื่อนฝูงทุกคนที่เกี่ยวข้องตนเองอวัยวะทุกส่วน ฯลฯ
กราฟที่ได้ดูมีความคล้ายกันแต่ ณ ตอนเริ่มครึ่งหลังค่าGammaโดดขึ้นมาหน่อยนึง

10 ส.ค. 2564

นั่งสมาธิ 20 นาที
เก็บกวาดที่พัก
บันทึกขณะทำงานบนมือถือ : แปลงข้อมูลที่ได้จาก muse มัดจำออกเป็นกราฟผ่านเว็บของ my monitor บันทึกภาพนำภาพไปประมวลด้วยแอป ibisPaint นำมาลงเว็บ blogspot ที่นี้
ซื้อหนังสือผ่านแอป kindle เปิดรีวิวดูหนังสือ
เข้าห้องน้ำขับถ่าย
โพสต์กระทู้แชร์ข้อมูลกราฟจากหนังสือ Raising Our Vibration: A Guide to Subtle Energy Meditation ใน blogspot และ Facebook
เดินจงกรม 30 นาทีช่วงครึ่งหลังมีความง่วงนิดหน่อย
ช่วงบ่ายท้องเสียปวดท้อง ตอนนี้ง่วงๆลองนั่งสมาธิแบบง่วงๆ
นอนพักหนึ่งงีบ 30 นาที
ยุ่งเหยิง
นั่งเฉยๆ 1 นาที
รับรู้ความรู้สึกตามแนวกระดูกสันหลังจากก้นกบขึ้นไปบนกะโหลกไปกลับ 2 รอบแล้วดูหัวใจเต้น 108 ตุบ แล้วดูลมหายใจ

ไม่ได้เล่นเกมมานาน อยากลองทดสอบหากระบวนการที่กระตุ้นคลื่นแกมม่า เลยลองโหลดเกม Candy crush ซึ่งเราเคยเล่นเมื่อประมาณ 10 ปีก่อนมาเล่นดู
นั่งสมาธิครึ่งชั่วโมง เริ่มมีอาการหาวช่วงหลังๆ

นั่งสมาธิ 11 นาทีนึกถึงหน้าเด็กยิ้มมีความสุขไปพร้อมกับรู้สึกร่างกาย

11 ส.ค. 2564

ทำสมาธิ 1 ชั่วโมง เคลื่อนไหวมือท่าหนึ่ง 20 นาทีเคลื่อนไหวมือท่าสอง 20 นาทีนั่งไล่ดูกาย 20 นาที

เดินจงกรม 48 นาที มีคิดฟุ้งซ่านหลุดลืมดูกายไปหลายอยู่ มีหิวบ้างนิดหน่อยบางขณะเพราะวันนี้ไม่ได้ฉันเช้า
นั่งสมาธิ 18 นาที ก่อนหน้านี้ลองนั่งกับ music app แล้วรู้สึกอึดอัดบริเวณหน้าอกสบายจริงเลิกนั่ง วิเคราะห์ดูเหมือนเราพยายามบังคับการหายใจมากเกินไป ไม่สามารถวางแล้วดูเฉยๆได้ คราวนี้มานั่งวัดด้วย mind monitor ดูความหิวเป็นหลักบริกรรมพุทโธไปด้วยฟังเสียงไปด้วย ไม่พยายามไปรู้ลมหายใจตรงๆแต่ถ้ามันจะรู้เองก็ปล่อยให้มันรู้ไป และพยายามรู้ทุกข์ตรงๆคืออะไรบางอย่างที่ขับเคลื่อนให้รู้สึกแน่นที่หน้าอก เหตุคือเราอยากปฏิบัติให้ได้ผลดี 

หลับ

12 ส.ค. 2564

หลับ

คุยกับแม่ผ่านไลน์
นั่งหลับตา ตั้งใจว่าจะอยู่แต่กับความคิดเรื่องบลอกที่กำลังจะเขียนโดยไม่ต้องภาวนา แต่มันก็ไปรู้สึกกายเองโดยความเคยชิน รู้สึกถึงเส้นเลือดตุบๆในสมองและพลังงานที่วิ่งมาที่หัว แต่ก็นั่งคิดและใช้ความแตกต่างกับความคิดไปอยู่เรื่อยๆ
ขณะเขียนบทความ ประสบการณ์การใช้ muse S วัดคลื่นสมอง

นั่งสมาธิครึ่งชั่วโมงช่วงแรกๆดูกายช่วงหลังเผลอไผลไปในความคิด

13 ส.ค. 2564

นั่งสมาธิ 17 นาทีง่วงเล็กน้อย
ตั้งใจลองนั่งอีกครั้ง 20 นาทีเพื่อจะดูผลของความง่วง แต่พอนั่งคราวนี้กลับรู้สึกผ่อนคลายและสงบในความสงัด

ลองนั่งหลับตาทำสมาธิเทคนิค Relaxing Down Three Lines-Liquid Light Version

14 ส.ค. 2564

นั่งสมาธิ 20 นาที 10 นาทีแรกเพลงลมหายใจไปที่ช่วงท้องล่างและส่วนสัทผัสพื้นโลก 10 นาทีหลังใจเริ่มไหลลมหายใจเริ่มเบา

15 ส.ค. 2564

ดูลมหายใจแบบสบายๆเผลอไผคิดไป ฝนตกอากาศเย็น
ยุ่งเหยิง

17 ส.ค. 2564

โยมพ่อมาใส่บาตรที่วัด พามาลองวัดคลื่นสมอง ให้นั่งเฉยๆคุยกันไป 5 นาที แล้วหลับตาทำสมาธิดูลมหายใจอีก 10 นาที รายละเอียด

ลองฉันอาหารที่โยมพ่อนำมาถวายช่วง 10 โมงกว่า ขณะเคี้ยวนั้นตัวจับสัญญาณจะมีปัญหาจึงต้องหยุดเคี้ยวเป็นระยะเพื่อให้มันวัดค่า แต่ก็ต้องการทดสอบดูว่าตอนกินอาหารถ้าเป็นอย่างไร
ใช้ app ไอบิสเพนท์แต่งรูป
นั่งสมาธิ 20 นาที ขยับมือปราสานลมหายใจท่าที่หนึ่ง 5 นาทีท่าที่สอง 5 นาที

18 ส.ค.2564

เดินจงกลม 1 ชั่วโมง แต่เครื่องบันทึกมาได้แค่ 6 นาทีแรก
นั่งสมาธิ 24 นาที นั่งไปแล้วความง่วงค่อยๆคืบคลานมาทีละนิด 

คุยโทรศัพท์ 39 นาที คิดว่าช่วงที่ gamma สูงขึ้นน่าจะเป็นช่วงที่อินในเรื่องที่เล่า ช่วงอินแรกคือเล่าเรื่องวัดคลื่นสมองให้พ่อ ช่วงอินกลางคุยเรื่องคลื่นเกี่ยวพันกันกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นปรากฏการณ์ในธรรมชาติ ช่วงอินหลังคือเล่าเรื่องที่อยากเก็บกวาดทำความสะอาดบริเวณที่รกและฝุ่นเยอะของวัดจึงลงมือทำแล้วมีผลให้เปลี่ยนแปลงความคิดและมุมมองของคนคนหนึ่งที่มาเห็น

นั่งสมาธิลองเปลี่ยนวิธีดูความจงใจเจตนาที่จะดูลมหายใจหรือบังคับลมหายใจ ผ่อนคลายในสวนเจตนา รู้สภาวะทั้งรู้และหลงอย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้น

เดินจงกรม 66 นาที วันนี้อดข้าว แต่ช่วงเดินก็ไม่ค่อยหิวเท่าไหร่ ก็รู้ทิ้งรู้ฟุ้งรู้สงุดสลับกันไป แต่คราวนี้หนูความเงียบสงัดงันจากความคิดเยอะขึ้นมีความรู้สึกอิ่มใจอยู่ข้างในแล้วรู้สึกถึงความว่างรอบนอกมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงกำลังกลับตัว
อ่านหนังสือภาษาอังกฤษบน kindle เป็นเวลา 19 นาที ยิ่งอ่านไปเรื่อยๆยิ่งง่วงขึ้นเรื่อยๆจึงหยุดอ่าน

ดูคลิปข่าวบน YouTube 14 นาที


นั่งสมาธิ 20 นาทีเริ่มต้นจาก scan body มีหิวบ้างเพราะวันนี้ไม่ได้ฉันข้าว ช่วงหลังหาวหวอดหวอด

19 ส.ค. 2564

เดินจงกรม 66 นาที แต่เครื่องวัดมาได้แค่ 55 นาทีแล้วหยุดทำงาน ขณะเดินช่วงกลางๆง่วงแรงมาก เวลาหยุดปลายทางกลับตัวถ้าเผลอนิ่งแป๊บเดียวตาที่มันหนักจะเผลอหลับตาฝันไปชั่วแป๊บนึง ลืมตามาแล้วก็เดินง่วงๆต่อกลับไปกลับมา แต่เลยช่วงกลางมาก็ง่วงน้อยลง

มีน้องท่านหนึ่งเขียนชมใน facebook เราก็คนธรรมดาที่ยังหวั่นไหวกับคำสรรเสริญและนินทา เห็นใจที่หวั่นไหวก็เลยมานั่งสมาธิ 22 นาที ตอนนั่งเหมือนใจจะจมอยู่ในความคิดเยอะมารู้สึกลมหายใจได้น้อยมาก แต่พอดูผลจากกราฟแล้วก็ปรากฏว่าก็เหมือนการนั่งสมาธิตามปกติธรรมดา ช่วงท้ายๆเกิดง่วงอย่างแรงขึ้นมา(คาดว่าตรงกับช่วงที่ delta พุ่งตัวขึ้นมา)
ตั้งใจเดินจงกรม 1 ชั่วโมงแต่เดินได้ 29 นาทีแล้วฝนตก ขณะเดินตื่นตัวดี ไหลไปในความคิดเยอะแต่ก็หลุดออกมาจากความคิดมาเห็นความคิดดับได้เป็นระยะ
นั่งสมาธิ 15 นาทีช่วงแรกผ่อนคลายความรู้สึกจากเท้าไล่ขึ้นมาจนถึงหัวแล้วรู้สึกลมหายใจ ช่วงหลังไหลไปในความคิดและง่วง

20 ส.ค. 2564

กายบริหารยามเช้า 11 นาที
นั่งสมาธิยามเช้า 26 นาที
เดินจงกรม 65 นาที
ฟุ้งบ้าง ง่วงบ้าง ตื่นตัวบ้าง ปนกันไป ช่วงแรกง่วงเยอะหน่อย ส่วนช่วงหลังตื่นตัวและรู้ความว่างได้เยอะหน่อย
นั่งสมาธิครึ่งชั่วโมงช่วงแรกๆดูกายช่วงหลังดูลม

21 ส.ค.2564

เริ่มจากยุ่งเหยิงแล้วไป micro cosmic orbit แล้วไปง่วง

เดิน 66 นาทีเครื่องวัดมาได้ 59 นาที
เดินขณะยังท้องอิ่มอยู่มีง่วงบ้างตื่นบ้างสลับกันไป

วัดค่าระหว่างเขียนบทความสนุกกับการวิเคราะห์คลื่นสมองการ 95 นาที
เดินจงกรม 1 ชั่วโมง ฟุ้งสุดขีดปล่อยฟุ้งไปเลยรู้สึกตัวได้บ้างเล็กน้อยเป็นระยะแต่ก็ถือว่าตื่นตัวดีไม่ค่อยมีง่วงซึม
ออกกำลังแบบโหนตัวยกขาจำนวน 2 ยก ช่วงต่อวัดความเคลื่อนไหวนิ่งคือหยุดพัก


นั่งสมาธิมีลืมตาขึ้นมาช่วงนึง

22 ส.ค. 2564

เดินจงกรมชั่วโมงกว่าเครื่องวัดมาได้ 55 นาที  ช่วงเริ่มเดินรู้สึกใจเบาสบายตื่นตัว เดินไปเดินมาบางช่วงนี้ง่วงนิดหน่อย ช่วงหลังหลังใจชอบไปคิดตรึกตรองเรื่องอริยสัจ 4
เดินจงกรม 73 นาที ครั้งนี้ตื่นตัวมากไม่มีง่วงเลย  เวลาที่หยุดสุดทางเดินแล้วกลับตัวจะรับรู้ความว่างได้บ่อยปกติมาก เมื่อเห็น"ความว่าง" สลับสับเปลี่ยนกับ "ใจที่เผลอคิด" และ "ใจที่เพ่งจ้องพยายามให้รู้อยู่ที่กายเพื่อพยายามไม่ให้ตัวเองคิด" ... ทำให้สังเกตเห็นความต่างระหว่าง จิตที่เจตนาจะปฏิบัติเพ่งจ้อง กับ จิตที่ว่างแค่รู้เฉยๆโดยไม่ได้มีเจตนาที่จะทำอะไร
  • จิตที่เจตนาจงใจที่จะปฏิบัติ มีความดิ้นรน มีความทุกข์เกิดขึ้น มีความรู้สึกถึงทุกข์อันละเอียดอ่อนลึกซึ้ง(ถ้าไม่มีจิตอีกแบบมาให้ได้รู้ได้สังเกตเปรียบเทียบก็คงจะไม่สามารถสังเกตเห็นทุกข์แบบนี้ได้) มีความหนักๆอึดอัดแน่นๆเกิดที่ในหน้าอกและในหัว
  • จิตที่ระลึกรู้ขึ้นมาเองโดยไม่ได้เจตนา ไม่มีความดิ้นรน แค่รู้ซื่อๆเฉยๆ มีความโปร่งโล่งเบาสบาย มันรู้กายรู้ใจ และยังรับรู้ถึงทั้ง ความว่างของบรรยากาศและพื้นที่รอบตัว และทั้ง ความว่างจากกระบวนการปรุงแต่งความคิดในใจ ไม่มีความทุกข์แบบที่เกิดขึ้นในตอนเจตนาที่จะปฏิบัติ

และในระหว่างเดิน สมองก็เริ่มประมวลผลวิเคราะห์ประสบการณ์ตรงอันนี้เข้ากับอริยสัจ 4 ดังนี้
  • ความเจตนาจงใจปฏิบัติของเราที่เกิดขึ้น เป็นกระบวนการที่มีขึ้นในขณะที่มีความยึดถือว่าใจเป็นเรา ความจงใจนี้มันมีความเป็น profectionist หรือผู้นิยมความสมบูรณ์แบบ มันพยายามจะทำให้ใจสงบด้วยการเพ่งกายเพ่งใจ เพื่อให้สงบ เพื่อไม่ให้หนีไปสู่ความเผลอฟุ้งซ่าน แต่ผลจากความพยายามอันนี้กลับทำให้ใจดิ้นรน ไม่สงบ มันทำให้เกิดความฟุ้งและความหนักขึ้นในใจ เกิดรู้สึกเป็นความทุกข์ - อุปาทานขันธ์5(ความยึดถือในกายและใจ)คือตัวทุกข์
  • เหตุที่ทำให้เกิดเจตนาของผู้นิยมความสมบูรณ์แบบคือ "ความอยาก" อยากสงบ อยากพ้นทุกข์ อยากบรรลุธรรม อยากเป็นอะไรบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ใช่สิ่งที่เป็นในปัจจุบันขณะ - ตัณหา(ความอยาก) คือ สมุทัย(ต้นเหตุแห่งทุกข์)
  • แต่ความอยากก็ไม่ใช่สิ่งที่คงทนถาวร ในชั่วขณะที่ความอยากหายไปแล้วมันเกิดการระลึกรู้ที่มันเป็นไปเองของมันเองโดยไม่ได้มีเจตนาของเราเกี่ยวข้อง เป็นชั่วขณะที่รู้ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะแบบตื่นตัวซื่อๆตรงๆ ไม่มีการให้ค่าว่าชอบหรือไม่ชอบ ไม่ได้มีความยึดถือว่าปรากฏการณ์ที่เกิดในกายในใจเป็นเรา มันรู้กายรู้ใจ รู้ความว่างภายในและความว่างภายนอก ความว่างที่เป็นรูปธรรมและความว่างที่เป็นนามธรรม -เมื่อตัณหาที่เป็นต้นเหตุของทุกข์ดับไป ก็คือ นิโรธ(ความดับทุกข์)
  • กระบวนการที่การ รู้ทุกข์ ละสมุทัย แจ้งนิโรธ เกิดขึ้นพร้อมๆกันทั้ง 3 ตัว ก็คือกระบวนการเจริญมรรค(แนวปฏิบัติที่นำไปสู่ความดับทุกข์)
ป.ล.
  1. นี่เป็นเพียงความคิด ที่ซึ่งเรียบเรียงเอาประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติไปประมวลผลเข้ากับสิ่งที่เคยได้ยินได้ฟังมาจากพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ครูบาอาจารย์  และเนื่องจากเป็นความคิด มันอาจจะถูกหรือผิด อาจจะจริงหรือไม่จริง ก็เป็นได้ทั้งนั้น
  2. ไม่ได้รู้สึกว่า ในขณะที่ทำการเดินจงกรมและคิดในสิ่งที่กล่าวมานี้ จะมีการเกิดขึ้นของการละสังโยชน์ตัวใดออกไปได้  ความเผลอใจยึดถือในขันธ์ว่าเป็นเราก็ยังคงวนเวียนอยู่ จึงไม่ใช่การบรรลุธรรมแต่อย่างใด - ต้องบอกกล่าวตรงนี้ไว้ให้ชัดเจนเพื่อกันคนเข้าใจผิด เพราะพระวินัยบัญญัติไว้ว่าการที่พระอวดอุตตริมนุสสธรรมที่เกิดขึ้นจริงให้โยมฟัง ผิดศีลของพระภิกษุ (แต่สำหรับพระอรหันต์ที่ถึงธรรมจริงๆก็เป็นอีกเรื่อง)

23 ส.ค. 2564

นั่งสมาธิครึ่งชั่วโมงตอน 2:00 น
นอน 87 นาที
ตรวจทานเนื้อหาว่าด้วยการเดินจงกรมที่ใส่เพิ่มของวันที่ 22 เรื่องอริยสัจ 4 เขียนโพสต์เพื่อแชร์ลง facebook ตรวจทาน รวมทั้งสิ้นบันทึกข้อมูลคลื่นสมอง 47 นาที
เดินจงกรม 65 นาที ส่วนใหญ่ตื่นตัวตามปกติมีง่วงเป็นบางช่วงไม่ได้รู้สึกถึงความว่างเยอะเป็นพิเศษเหมือนครั้งก่อน

ยืนพักสบายๆ 5 นาทีแล้วทำ horse stances 2 นาทีกว่าๆแล้วพักเหนื่อยไปอีก 5 นาที

ชั่วขณะที่ยืนท่า horsemen นั้น beta เด้งขึ้นไปที่ค่าประมาณ 100 ส่วน delta theta alpha ที่ 130

นั่งสมาธินั่งไปนั่งมาแล้วง่วงเลยเลิกนั่ง

24 ส.ค. 2564
นั่ง 3 นาที ทำท่าแพลงก์ 3 นาที นั่ง 3 นาที รวม 9 นาที

อ่าน facebook จัดข้าวของในห้องในช่วงหลัง 24 นาที

นั่งสมาธิ 21 นาที ตั้งใจจะรู้ลมหายใจที่ปลายจมูกแต่นั่งไปนั่งมาก็เผลอไหลฟุ้งเบลอง่วง
วุ่นวาย 58 นาที
25 ส.ค. 2543
เก็บกวาดทำความสะอาดกุฏิ

เดินจงกรม 42 นาที ตื่นตัวธรรมดาฟุ้งไปคิดเรื่อง eneagram บ้าง  เครื่องวัดคลื่นสมองมีปัญหา 2 ช่วงแต่ถ้าไม่นับช่วงมีปัญหาก็พอดูแพทเทิร์นได้อยู่
เช็คระหว่างเขียนบทความ สนุกกับการวิเคราะห์คลื่นสมอง 58 นาที
พัก และ วิดพื้นสลับ 3 ยก


นั่งสมาธิ 17 นาที


นั่งสมาธิ 16 นาที ก่อนที่จะนั่งเพิ่งเขียนและโพสต์บทความสนุกกับการวิเคราะห์คลื่นสมองเสร็จ คิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ค่าแกมม่าสูงในช่วงต้นของการนั่ง นั่งไปนั่งมาแล้วง่วงในช่วงท้าย
26 ส.ค. 2564
นั่งสมาธิ 30 นาที มีโดนมดกัดลืมตาขึ้นมาเกา
เดินจงกรมง่วงแต่ก่อนเดิน เดินแบบงงๆ ตั้งใจเดิน 1 ชั่วโมง จะเดินไปเดินมาเผลอหลับในทุกครั้งที่หยุดตัว พอ 15 นาทีเกือบจะล้มหัวคะมำทั้งยืนจึงหยุดเดิน



หลับกลางวัน 66 นาที
ทวนปาฏิโมกข์จากเริ่มถึงอนืยตา  15 นาที

27 ส.ค. 2564

อ่าน facebook และอ่านข่าวตามอ่านประเด็นที่ตำรวจทำร้ายผู้ค้ายา
เดินจงกรม 103 นาที
เริ่มต้นอยู่กับความฟุ้งซ่านเยอะแล้วก็เริ่มง่วงก็ดูง่วงไปฟุ้งไปความง่วงก็เริ่มจางคลาย รู้สึก appreciated กับความสุขที่มาพร้อมลมหายใจเข้าที่สเชื่น ชื่นชมสายลมแสงแดดธรรมชาติรอบตัว แต่ไปๆมาๆ ก็มาง่วงอีกแต่ก็แปลกที่ทั้งง่วงและพิเศษสลับไปสลับมาอยู่ด้วยกันได้ ดูฟุ้งไปว่างไป ความง่วงก็ไปๆมาๆผ่านมาผ่านไป
นั่งสมาธิ 12 นาที ง่วงๆ
ยืน 1 นาที horse stance 1 นาที ยืน 1 นาที
นั่งสมาธิ 12 นาทีบริกรรมพุทโธ
28 ส.ค. 2564
นอนงีบดูลมดูกายหลังนั่งสมาธิตอนตีสาม ครึ่งชั่วโมง
นั่งสมาธิตอน 5:00 น
นั่งสมาธิหลับตา 36 นาที 10 นาทีแรกเคลื่อนไหวมือเข้าจังหวะลมหายใจท่า 1, 10 นาทีถัดมาท่า 2, 16 นาทีถัดมานั่งสมาธิผ่อนคลายดูลมหายใจ

29 ส.ค. 2564

บันทึกการนอนทั้งคืนได้มาแค่ 19 นาที
นั่งสมาธิ 35 นาที ช่วงแรกบังคับลมช่วงหลังปล่อยๆ
ทำความสะอาดที่พัก 7 นาที
เดินจงกรม 131 นาที 
 ตั้งเวลาให้มีเสียงนาฬิกาดังทุก 10 นาที (จากนี้จะเรียกแต่ละช่วงของ 10 นาทีว่าแต่ละคิว) คิว1 ง่วงนิดๆ ก็ตั้งใจว่าจะรู้ความง่วงดูความง่วงที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆทุกคิว เริ่มตื่นตัวตอนคิว 2 คิว3 ตื่นตัวมากกว่าปกติแบบแปลกๆเสียวๆ รู้สึกถึงพลังงานอันละเอียดอ่อนที่วิ่งในกาย โดยเฉพาะปลายมือและกลางหัว บางทีหยุดตัวรู้สึกถึงหัวใจที่กำลังเต้นในอัตราที่ไม่ได้แรงเร็วกว่าปกติและเส้นเลือดที่กำลังตึบๆ

 q8 เริ่มง่วงนิดนึงแต่นอกนั้นก็ตื่นแรงตลอดจนคิวสุดท้ายเริ่มคลายความตื่นตัวลงมาหน่อยนึงรู้แบบธรรมดาธรรมดา

พัก1 horse stance 2 พัก1
นั่งสมาธิ 30 นาที เท่าที่จำได้คือบางช่วงก็เหมือนตื่นตัวดี บางช่วงก็ไหลไปในความคิด แพทเทิร์นช่วงแรกเป็นแบบการนั่งสมาธิชัดเจน แต่ช่วงกราฟที่เดลต้าเด่นนั้นเกิดอะไรขึ้นก็ไม่รู้จำไม่ได้จริงๆ ไม่แน่ใจว่าใช่การหลับไปหรือไม่ รูปแบบแพทเทิร์นก็คล้ายการหลับอยู่

30 ส.ค. 2564

นั่งสมาธิ 20 นาทีดูลมไล่ลมตามแนวกระดูกสันหลังจากก้นกบขึ้นไปกะโหลกไม่พร้อมกับรู้สึกเส้นเลือดเต้นตึบๆที่จุดที่ดู
เดินจงกรม 1 ชั่วโมงq1 q2 ฟุ้งเยอะ แต่ช่วงหยุดกับตัวก็พอรู้ความว่างได้อยู่ Q4 เริ่มง่วงหาว แล้วก็ฟุ้งๆสลับไปมา
อ่าน/โพสต์ facebook 32 นาที

4 rounds of Win Hof breathing exercise + 5 minutes normal breath meditation


เคลื่อนไหวมือแบบดังตฤณ q1 ท่า1 q2 ท่า2 q3 ประสานมือแป๊บนึงแล้ว normal
นอน 224 นาที ก่อนหลับนอนทำเคลื่อนไหวมือ

31 ส.ค. 2564

นั่งสมาธิ 22 นาที หลังตื่นนอนไล่ก้นกบถึงกะโหลก มีมึนงงโงกเงกบ้าง
ออกกำลัง 10 นาทียืนหลับตากำแบมือหมุน



นั่งสมาธิ 80 นาทีหลังออกกําลังกาย นั่งธรรมดา 20 นาที ตามด้วย WIM Hof ตามด้วยนั่งธรรมดา มีรายการจากล่างขึ้นบนด้วยปนไป
เดินจงกรม 1 ชั่วโมง
q1 ตื่นตัวธรรมดาปนง่วงน้อยๆ
ช่วง q2 มีเริ่มง่วงเยอะ(คาดว่า11.11)
ช่วง q3 เริ่มตื่นตัวรู้สึกถึง energy flow อันละเอียดอ่อนปลายมือปลายเท้าหัวใจเต้น แต่ก็บ่นปวดและสลับกันไปกับง่วงแล้วฟุ้ง
ช่วงหลังมีนึกเรื่องขำๆขึ้นมทีนึงจนเดินไปยิ้มไป
นั่งหลับตาทวนปาฏิโมกข์ในใจ ติงสะนิสคคิยา เกิดรู้สึกเส้นเลือดที่กำลังเต้นตึบๆในหัวสมองเอง
นั่งดูลม ง่วงช่วงหลัง
นั่งหลับตาทวนปาฏิโมกข์ในใจ อีก ติงสะนิสคคิยา ช่วงหลังมีติดคิดไม่ออก
นั่งหลับตาดูลม ช่วงแรกไล่ดูไล่จากต้นลมจมูกกลางล้มตายลงท้องกลับไปกลับมา แต่พอทำได้ 5 นาทีรู้สึกอึดอัด จึงเปลี่ยนมาเป็นรู้ทั่วๆตั้งแต่จมูกถึงท้อง ไปๆมาๆก็รู้ทั้งกาย 
ทวนปาฏิโมกข์ปาจิตตีย์
นั่งดูลมธรรมดาสบายๆ







ต่อหน้า 2 ที่ https://bodhineuro.blogspot.com/2021/08/2.html







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประสบการณ์การใช้ muse S วัดคลื่นสมอง

สนุกกับการวิเคราะห์คลื่นสมอง

การคิดคะแนนของ Muse

ว่าด้วยเรื่องการเดินจงกรม