คลื่นสมองขณะหลับ

  •  คราวนี้ตั้งใจทำการศึกษาคลื่นสมองขณะอยู่ในท่านอน และขณะหลับ
  • โดยการอยู่ในท่านอน ประมาณ 5 ชั่วโมงครึ่ง 
  • ตั้งแต่เวลา 21:30 น ไปจนถึงตี 3:00 น
  • เมื่อยังไม่หลับก็ระลึกรู้ลมหายใจเท่าที่รู้ได้ เมื่อหลับก็ปล่อยหลับไป
  • หลังจบการบันทึกตอนตี 3:00 น ส่วนที่พอจะจำได้ ก็มีทั้งช่วงที่รู้สึกตัวดูลมหายใจ และ ช่วงที่ฝัน 

จากกราฟเราจะเห็นว่ามีแพทเทิร์นของคลื่นสมอง 4 รูปแบบหลักๆ ดังนี้

ข้อมูลเพิ่มเติมที่ muse วัดได้







จากนี้จะทำการวิเคราะห์จากทฤษฎีที่ข้าพเจ้ารู้มา (หากท่านใดเห็นว่ามีจุดไหนผิดพลาดบกพร่องช่วยชี้แนะด้วยครับ)

A.

  • เป็นช่วงที่คลื่นเดลต้าเด่นที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงอื่น
  • คลื่นทั้ง 5 ตัว แยกชั้นอยู่คนละดับอย่างชัดเจน
  • ตามทฤษฎีแล้วค่าเดลต้าจะเด่นเมื่ออยู่ในภาวะหลับลึกเพราะฉะนั้น pattern A. นี้ น่าจะเป็นภาวะหลับลึก 
  • เมื่อดูจากกราฟความเคลื่อนไหวร่างกาย ประกอบ จะเห็นว่า ช่วง A. ที่คาดว่ามีการหลับลึก ร่างกายจะนิ่งสนิทกว่าช่วงอื่น 
  • กราฟนี้มีการหลับลึก 3 รอบ (เท่าที่เห็นชัดจากกราฟ)
  • หลับลึกรอบที่ 3 หลับลึกยาวที่สุดและร่างกายนิ่งที่สุด

B.

  • alpha ลอยบนสุด, gamma ลงต่ำสุด, อีก 3 อันพัวพันกันอยู่ตรงกลาง
  • จากที่ได้ลองเรียนรู้ดูค่าวัดคลื่นสมองตัวเองมาช่วงหนึ่ง ทำให้รู้ว่ารูปแบบคลื่นสมองที่เกิดระหว่างนั่งสมาธิหลับตาดูลมหายใจ มักมีรูปแพทเทิร์นคล้ายแบบ B. ดังนั้นช่วงนี้น่าจะเป็นช่วงที่ตื่นแล้วรู้สึกตัวแล้วอยู่ท่านอนหลับตาดูลมหายใจอยู่

C.

  • ดูเหมือนว่า ช่วง C. จะเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านจาก  B. ไป A. หรือพูดเป็นภาษาคนว่า การเปลี่ยนจากช่วงตื่นไปสู่ช่วงหลับลึก
  • ในกราฟดูเหมือนว่าช่วง A.  2 ครั้งแรก อาจจะมีช่วง C. นำอยู่เป็นเวลานิดๆ แต่ในช่วงเวลาที่น้อยมากจึงไม่ได้ระบุลงไป 
  • และหลัง C. ครั้งสุดท้ายก็ดูเหมือนจะมีช่วง A.  อยู่เป็นเวลาสั้นๆนิดๆก็จึงไม่ได้ระบุลงไปเช่นกัน

D.

  • เป็นกราฟที่มีลักษณะอยู่กึ่งระหว่างช่วงรู้สึกตัวกับช่วงหลับลึก
  • หากเทียบกับช่วงหลับลึกแล้วช่วงนี้จะมีเดลต้า(ความหลับลึก)ลดต่ำลงมา แต่มีค่าเบต้า(ซึ่งบ่งบอกว่ากำลังใช้ความคิด)สูงขึ้น 
  • หากไม่นับช่วงที่รู้สึกตัวตื่น, ในขณะหลับ ช่วง D. นี้ เป็นช่วงที่มีการเคลื่อนไหวตัวมากที่สุด
  • คาดว่าช่วง D. คือช่วงที่กำลังฝันอยู่


สรุปแล้ว คาดว่า 

A. คือ หลับลึก

 B. คือ หลับตาตื่นรู้สึกตัว 

C. คือ ช่วงปรับสภาพจากตื่นไปสู่หลับลึก

 D. คือ หลับฝัน


ข้อมูลเพิ่มเติมวันอื่นๆ

7 ส.ค. 2564
ลองอีกครั้งโดย เริ่มบันทึกตั้งแต่อยู่ในท่านอนและตั้งใจว่ารู้สึกตัวปุ๊บ ตื่นขึ้นมาหยุดบันทึกทันที ได้ผลดังนี้


8 ส.ค. 2564

นอนตื่นแรก (29นาที)





นอนตื่นสอง (2 ชั่วโมง 25 นาที)

จากนี้จะไม่ระบุค่าc.เพราะเป็นแค่การเปลี่ยนผ่าน

23 ส.ค. 2564

นอน 87 นาที


31 ส.ค. 2564

นอน 224 นาที









ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประสบการณ์การใช้ muse S วัดคลื่นสมอง

สนุกกับการวิเคราะห์คลื่นสมอง

การคิดคะแนนของ Muse

ว่าด้วยเรื่องการเดินจงกรม

บันทึกประจำวันคลื่นสมองด้วย muse ผ่านแอพ mind monitor