บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2021

บันทึกประจำวันคลื่นสมอง หน้า5 (ธันวาคม 2564)

รูปภาพ
 4ธค2564 กรนั่งสมาธิ 6ธค2564 ยุ้ยนั่งสมาธิ ช่วงแรกบริกรรมพุทโธ ช่วงกลางมันทิ้งบริกรรมดูลม ช่วงท้ายเก็นแสงไม่มีประมาณ กรคุยออนไลน์กลุ่มกับเพื่อนช่วยกันแก้ปัญหายางอย่าง

สมอง 4 ส่วน

รูปภาพ
  สมองด้านซ้าย ทำงานด้านตรรกะ การคิดวิเคราะห์ คำนวณตัวเลข สมองด้านขวา ทำงานด้านจินตนาการ อารมณ์ความรู้สึก ความสุนทรีย์ ศิลปะ สมองส่วนหลัง เป็นสมองดั้งเดิมที่มีวิวัฒนาการมาหลายร้อยล้านปี มีมาในตั้งแต่สัตว์เลื้อยคลานมายันมนุษย์ ทำหน้าที่ด้านการรับรู้ทางผัสสะ, การตอบสนองโดยสัญชาตญาณ, จิตใต้สำนึก, การมีชีวิตอยู่โดยเอาตัวให้รอด สมองส่วนหน้า เป็นส่วนที่มนุษย์พัฒนาสูงสุดเหนือสัตว์อื่นๆ เริ่มพัฒนาเมื่อ 100 ล้านปีก่อน ทำหน้าที่ด้าน สติปัญญา,ความมีเหตุผล, ความเข้าใจตนเองและผู้อื่น การควบคุมตนเอง, ศีลธรรม, คุณธรรม, การมีชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย สมองทั้งซ้าย/ขวา/หน้า/หลัง ล้วนแล้วแต่จำเป็นแต่การดำรงอยู่ของมนุษย์  ในแต่ละคนจะมีทักษะและความชำนาญแตกต่างกันไป ผู้ศึกษาศาสต์ด้านสมองพบว่าคนเก่ง คนประสบความสำเร็จ คนมีความคิดสร้างสรรค์สูง คือคนที่มีการทำงานเชื่อมโยงประสานกันของสมองทุกด้านได้ดี และพบว่า วิธีพัฒนาการเชื่อมโยงประสานของสมองทุกด้าน นั้นเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ด้วยการทำ meditation (ทำสมาธิ/เจริญสติ) สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับผู้ที่พัฒนาการเชื่อมโยงประสานของสมองซ้ายขวา(ด้วยการทำสมาธิ/เจริญสติ)จะมากัน

บันทึกประจำวันคลื่นสมอง หน้า4 (พฤศจิกายน 2564)

รูปภาพ
 2พย2564 นั่งสมาธิตอนตื่นนอน นั่งสมาธิหลังอาบน้ำเสร็จ 4พย2564 ตื่นนอนนั่งสมาธินับลมหายใจเพ่งลมที่ปลายจมูก นั่งสมาธิ 20 นาทีเริ่มจะเคลื่อนไหวมือ 20 ครั้งแล้วดูการเต้นหัวใจ หลังจับนก muse ตอนท้ายนั่งหาวหวอดหวอด 5พย2564 นั่งสมาธิ 9 นาที วันนี้ฉันกาแฟที่โรงน้ำร้อนหลังจากที่ไม่ได้ใช้มานานเพราะเวลาฉันมักจะใจเต้นแรง แต่คราวนี้ใจไม่เต้นแรงแต่ก็ตื่นตัวดี ก่อนการวัดครั้งนี้ได้ทำการนั่งจับนกใน muse app แล้วจากนั้นได้นั่งสมาธิวัดึ่าด้วย mind monitor มาก่อนอีกรอบหนึ่งแต่การบันทึกมีปัญหาไม่ได้บันทึกไว้ จึงนั่งต่ออีกรอบ สำหรับรอบนี้ก็มีการทำหลายสิ่งอย่างสลับไปมา -ดูลมหายใจ -ไร่ดูร่างกายขึ้นลงทีละส่วน -ดูความคิดและอารมณที่ผุดขึ้นมาปรากฏคงอยู่และหายไป -ดูปิติที่เกิดในแต่ละส่วน -ดูร่างกายทั่วๆไปพร้อมๆกัน -ดูความนิ่งเทียบกับความเคลื่อนไหวในยามลมหายใจเข้าออกและหยุดในระหว่าง  มีความรู้สึกตื่นตัวมากเป็นพิเศษ และครั้งนี้กราฟมาแปลกกว่าการนั่งสมาธิครั้งอื่นๆ  -ค่าแอลฟ่า (สีฟ้า-ความสงบผ่อนคลาย)สูงมากเป็นพิเศษ อื่นๆมาก  -มีการไต่ระดับขึ้นลงๆของแกมม่า (สีส้ม-ความตื่นตัวของสมองทั้งระบบ) เนื่องจากทำไปหลายอย่างจำลำด